วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

VTR สิงห์คู่ เบญจมฯ จันท์


VTR สิงห์คู่ เบญจมฯ จันท์





ผู้ให้สัมภาษณ์ นายวิศรุต จีระสมบูรณ์ยิ่ง

ติดตามชมได้ที่  http://www.youtube.com/watch?v=LQFM5Hlw380&feature=youtu.be




สิงห์คู่ เบญจมฯ จันท์


สิงห์คู่ เบญจมฯ

          เนื่องจากทุกวันที่ 6 กันยายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันกำเนิดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี 1 ใน 5 โรงเรียนชายประจำ 5 มณฑลที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าหลวง โดย วันที่ 6 กันยายน 2554 เป็นวันคล้ายวันกำเนิดโรงเรียน 100 ปี ตามที่ได้นำเสนอให้ทราบฉบับที่ผ่านมา “91 ปี ศรียานุสรณ์ 100 ปี เบญจมราชูทิศ”  ได้ทำพิธีเปิดอาคารเรียนหลังแรกเป็นเรือนปั้นหยาชั้นเดียว หน้าอาคารปรากฏสิงห์ศิลาคู่ และสิงห์ศิลาคู่นี้ได้กลายเป็นเอกลักษณ์เคียงคู่ศิษย์เก่าชาวฟ้าเหลืองรุ่นแล้วรุ่นเล่าจวบจนปัจจุบัน โดย พระยาตรังคภูมาภิบาล (ถนอม บุณยะเกตุ) กล่าวเปิดนามโรงเรียน เมื่อวันที่ 22  ตุลาคม พ.ศ.2456 แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า  สิงห์ศิลาคู่ 100 ปีเบญจมราชูทิศ ศิลปกรรมแบบนครวัต เป็นศิลปกรรมเขมรองค์ประกอบของปราสาทขอมที่ประดิษฐ์ขึ้นระหว่างปี พ.ศ.1650 - 1720  ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้วนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร  และทำไมจึงมาปรากฏกายพร้อมกับชิ้นส่วนปราสาทขอมอีกหลายชิ้น ณ สถาบันแห่งนี้และบริเวณใกล้เคียง เช่น วัดกลาง วัดโบสถ์เมืองจันทบุรี วัดหน้าพระธาตุ (ร้าง) ภายในวิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี  เป็นต้น ปัจจุบันสิงห์ศิลาคู่นี้ได้จัดวางไว้บริเวณหน้าเสาธง ร.ร.เบญจมราชูทิศ  ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำสถาบัน ซึ่งศิษย์เก่ารู้จักเป็นอย่างดี แต่ท่านรู้จักจริงหรือ ?

  ตามที่ข้าพเจ้าได้เคยนำเสนอเรื่องราว ของอาณาจักรเมืองเก่าจันทบูร สมัยขอมเรืองอำนาจที่เมืองเพนียดหรือเมืองพระนางกาไว ใกล้วัดทองทั่ว ต.คลองนารายณ์ อ.เมือง จ.จันทบุรี ซึ่งกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้ว เป็นกำแพงศิลาแลงสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบเป็นสระน้ำหรือบาราย กว้าง 17  เมตร ยาว 57 เมตร หนา 3  เมตร บริเวณโดยรอบเป็นปราสาทที่ชาวบ้านบุกรุกทำลายกลายเป็นสวนผลไม้ ยังคงเหลือไว้ซึ่งโบราณวัตถุจำนวนหลายชิ้น ที่ขุดพบโดยทั่วไป  และบริเวณหมู่บ้านเพนียด ใกล้วัดเพนียด (ร้าง)  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้  ณ  พิพิธภัณฑ์วัดทองทั่ว เช่น  ทับหลัง 3 ชิ้น 3 สมัย กรอบประตูแปดเหลี่ยม ศิลางาช้าง จำหลักนูน สิงห์ทวารบาลลักษณะเดียวกับที่พบ ณ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ และชิ้นส่วนที่พบ ณ วัดกลาง วัดสระบาป วัดโบสถ์เมืองจันทบุรี  วัดเขาพลอยแหวน และวัดบนบ่อพุ อ.ท่าใหม่ ชิ้นส่วนปราสาทศิลาแลงและศิลาทรายเหล่านี้ทำไม จึงปรากฏอยู่ทั่วไปในจังหวัดจันทบุรี แสดงให้เห็นว่าต้องมีการเคลื่อนย้ายองค์ประกอบของปราสาทเมืองเพนียด หลวงสาครคชเขตต์ (ป.สาคริกานนท์)  เขียนหนังสือจดหมายเหตุ ความทรงจำสมัยฝรั่งเศสและญวนยึดจันทบุรี เมื่อ พ. ศ.2481  หน้า 534 - 535 ได้กล่าวถึง ศิลาที่ขุดได้ที่เมืองเพนียด เก็บรักษาไว้ที่วัดทองทั่ว และศิลาที่รักษาอยู่ในโรงเรียนเบญจมราชูทิศ  สลักรูปลวดลายลักษณะต่าง ๆ  เป็นต้นว่า ราหูอมจันทร์บ้าง เป็นเทวรูปหรือปรสุราม (รามสูรย์) บ้าง เป็นตัวสิงห์บ้าง เป็นแท่นคล้ายธรณีประตูบ้าง

       นายอเนก บุญภักดี ได้เขียนไว้ในบันทึกการศึกษาเรื่อง เมืองจันทบุรี พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นายปัญญา เอครพานิช 6  ธันวาคม 2512  หน้า 35 ว่า “ในสมัยเมื่อข้าพเจ้าเรียนหนังสืออยู่ที่ โรงเรียนประจำ จ.จันทบุรี เบญจมราชูทิศ (พ.ศ.2468 - 3475) ที่ปลายถนนหน้าโรงเรียนหลังใหญ่ ซึ่งขณะนี้รื้อไปหมดแล้ว ด้านตะวันตกมีแผ่นศิลาสลักเป็นรูปปรสุราม  หรือจะเป็นรูปอะไรก็ไม่ทราบแน่ แต่มีลักษณะเป็นหัวนกอ้าปาก  เรามักจะเรียกว่า หัวนางกาไว  นอกนั้นก็มีเป็นเจดีย์หิน โดยเอาหินเป็นก้อนกลมๆมาประกบกัน ยอดไม่ใช่ยอดแบบพระเจดีย์ไทยแต่เป็นแบบคล้ายๆ  กับแบบเจดีย์จีนมากกว่า ที่ด้านข้างมีจารึกอักษรไทยอยู่ด้วย เคยพยายามอ่าน และจดไว้  แต่หาไม่พบเพราะนานมาแล้ว ต่อมาเมื่อรื้อตัวโรงเรียนเดิมย้ายมาสร้างใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน ศิลากองนี้ถูกเลื่อนไปไว้ที่โรงเรียนการช่าง ในบริเวณโรงเรียนเบญจมราชูทิศนั่นเอง แต่ปัจจุบันนี้จะไปอยู่ที่ใดก็ไม่ทราบ สืบหาทั้งที่จังหวัดและกรมศิลปากร ก็ยังไม่ได้ความว่าอยู่ที่ใด

ภาพเก่าในอดีตเหล่านี้นี่เอง  การตามรอยสิงห์ศิลาคู่หรือสิงห์ทวารบาลศิลปกรรมนครวัตจึงเริ่มขึ้น สรุปความได้ว่า เมื่อ  ร.ศ.112 - 123 (พ.ศ.2436 - 2477)  ฝรั่งเศสเกณฑ์ญวนเข้ายึดครองจันทบุรี ชั่วคราวเพื่อต่อรองแลกเปลี่ยนดินแดน ระหว่างที่ถอนกำลังไปยึดตราดอีก 3 ปี ได้มีการก่อสร้างศาสนสถานไว้ริมแม่น้ำจันทบุรี  ในเขต ต.พุงทะลาย (จันทนิมิต)  เพราะวัดเดิมพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมขังทุกปี วัดที่ก่อสร้างขึ้นใหม่นี้ต้องใช้ฐานรากที่แน่นหนา ฝรั่งเศสจึงว่าจ้างชาวทองทั่ว ขนชิ้นส่วนปราสาทและกำแพงเมือง บรรทุกเกวียนมาตามถนนศาลาแดง นำถมเป็นพื้นของวิหาร ศิลาทรายสลักบางชิ้นที่สวยงามปะปนมากับศิลาแลงสี่เหลี่ยมด้วย ชาวบ้านบางส่วนเห็นว่า ถ้านำไปถมลงดินจะหมดคุณค่า จึงวิ่งเกวียนหลบฝรั่งเศส ข้ามสะพานวัดจันทนารามซึ่งเป็นสะพานชั่วคราว กลิ้งทิ้งหลบไว้ในป่าช้าหลังวัดกลาง (ร้าง)  ต่อมาป่าช้าผืนนี้ได้แปรสภาพเป็นโรงเรียนเบญจมราชูทิศ   ชิ้นส่วนศิลาสลักจำนวนมาก รวมถึงสิงห์ทวารบาลที่กล่าวถึง  จึงปรากฏให้เห็นเคียงคู่อาคารหลังแรก จนถึงปัจจุบัน  

  จากวันนั้นจนถึงวันนี้ 100  ปี  โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี 6  กันยายน ของทุกปี โรงเรียนจึงกำหนดเป็นวันกำเนิดโรงเรียน จัดกิจกรรมย้อนรำลึกพระมหากรุณาธิคุณพระพุทธเจ้าหลวง และพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว สืบสานตำนานสิงห์ทวารบาล โบราณวัตถุล้ำค่าที่ชาวฟ้าเหลืองทุกคนพานพบจวบจนปัจจุบันนี้.



วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัญลักษณ์โรงเรียน


สัญลักษณ์โรงเรียน


เครื่องหมายประจำโรงเรียน    พระเกี้ยว
ปรัชญาโรงเรียน                  ปญฺญา นรานํ รตฺนํ  ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน
สีประจำโรงเรียน                 ฟ้า เหลือง
ต้นไม้ประจำโรงเรียน            ต้นแก้ว
อักษรชื่อย่อโรงเรียน              บ.จ.
อัตลักษณ์ของโรงเรียน           การเรียนเด่น
เอกลักษณ์ของโรงเรียน          วิชาการเป็นเลิศ
วิสัยทัศน์ของโรงเรียน            ดีเด่นวิชาการ สืบสานความเป็นไทย ก้าวไกลสู่มาตรฐานสากล Excelling in Academic Preserving Thai-ness Stepping up to International Standards

ปัจจุบัน


ปัจจุบัน

          โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 กระทรวงศึกษาธิการ มีนักเรียนประมาณ 3000 คน โดยชื่อโรงเรียนเป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
          โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ 22 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่เลขที่ 10 ถนนศรียานุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เปิดสอนสองระดับคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ซึ่งทั้งสองระดับรับทั้งนักเรียนชายและหญิง การจัดการเรียนการสอนแบ่งโครงสร้างการเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และกลุ่มวิชาทั่วไป โดยมีนโยบายในการพัฒนาการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่น ซึ่งเป็นเมืองเกษตรกรรม ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ได้ปรับปรุงอาคารสถานที่ให้เพียงพอเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน จัดบรรยากาศห้องเรียน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนอาคารเรียนให้สะอาดร่มรื่น สวยงาม เพื่อเป็นแหล่งแห่งการเรียนรู้ได้ทุกเวลาสถานที่ ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความสามารถทางวิชาการ ความรัก ความผูกพัน ศรัทธา เพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่าโรงเรียนคือ บ้านที่สอง ของนักเรียนทุกคน


วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อดีต


อดีต

การศึกษาของกระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)ในปี พ.ศ.2454 - 2455 ได้แบ่งชั้นเรียนวิสามัญ ออกเป็น ชั้น คือ ชั้นมูล ชั้น ชั้นประถม 3ชั้น และชั้นมัธยม ชั้น ขณะนั้นจังหวัดจันทบุรีมีโรงเรียนวัดจันทนารามแห่งเดียวที่เปิดสอนชั้นสูงสุดคือ ประโยคประถม (ป.3) ผู้ที่จบประโยคประถมแล้วถ้าต้องการศึกษาต่อชั้นมัธยม ต้องไปศึกษา ณ กรุงเทพฯ
ต้นปี พ.ศ. 2454 ขุนวิภาชวิทยาสิทธิ์ (สังข์ พุกกะเวส) ธรรมการมณฑลจันทบุรี (ภายหลังได้เลื่อนเป็น พระวิภาชวิทยาสิทธิ์) และครูพูล (ขาว) ผู้ช่วยข้าหลวงธรรมการมณฑลจันทบุรี (ภายหลังได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนชำนิอนุสรณ์ ตำแหน่งธรรมการจังหวัดจันทบุรี) ได้ร่วมกันพิจารณาหาที่ตั้งโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลจันทบุรี (มณฑลจันทบุรี ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด) เพื่อพิจารณาแล้ว เห็นว่า วัดจันทนารามตั้งอยู่ริมแม่น้ำ น้ำท่วมการเดินทางต้องลงเรือ ส่วนวัดกลาง อยู่บนเนินสูง น้ำไม่ท่วม นักเรียนสัญจรไปมาสะดวก ทั้งมีบริเวณกว้างขวาง และในขณะนั้นวัดกลางเป็นวัดร้าง มีพระภิกษุรูปเดียว มีศาลาการเปรียญ 1หลัง กุฏิ หลัง ซึ่งพระภิกษุอาศัยอยู่ หลัง กุฏิอีก หลัง สามารถใช้เป็นอาคารเรียนชั่วคราวได้ เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นโรงเรียนประจำมณฑลต่อไป
กลางปี พ.ศ. 2454 ทางราชการได้ส่งครูมาให้ คน คือ ครูพูล (ดำ) และครูกัลป์ ธรรมการมณฑลจึงสั่งโอนนักเรียนประถม 15 คน จากวัดจันทนาราม มาเรียนที่ศาลาการเปรียญวัดกลาง เมื่อวันที่ กันยายน พ.ศ. 2454 และประกาศรับนักเรียนชาย หญิง เข้าเรียนชั้นมูล ที่ศาลาการเปรียญด้วย ต้นปี พ.ศ. 2455 ได้เลื่อนนักเรียนที่สอบไล่ได้ประโยคประถมเป็นนักเรียนฝึกหัดมณฑลจันทบุรี โดยเรียนที่กุฏิร้าง หลัง และให้นักเรียนที่สอบได้ประถมปีที่ ของวัดจันทนาราม มาเรียนประโยคประถมที่วัดกลางโดยเรียนที่กุฏิร้างอีก หลัง พระราชทานนาม เบญจมราชูทิศ
ปี พ.ศ. 2455 ข้าราชการในมณฑลจันทบุรี ได้พร้อมใจกัน บริจาคเงินสร้างอาคารเรียนหลังแรกเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ โดยอาคารหลังนี้ สร้างเป็นเรือนปั้นหยาชั้นเดียว 6ห้องเรียน ยาว 12 วา ศอก กว้าง วา มีมุขและระเบียง ด้าน ตัวไม้ใช้ไม้ตะเคียนล้วน ส่วนพื้นและเครื่องบนใช้ไม้ยางบ้าง ตัวอาคารทาสีฟ้าและมีรางน้ำรอบ การทำได้ทำอย่างประณีตงดงามแน่นหนาถาวรทุกประการ (ที่ตั้งอยู่บริเวณอาคาร9ในปัจจุบัน ทางเข้าออก อยู่ด้านถนนเบญจมราชูทิศ) เมื่อสร้างเสร็จเป็นโรงเรียนสมบูรณ์แล้วจึงขอพระราชทานนามโรงเรียน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานว่า เบญจมราชูทิศและเนื่องจากในปีนี้กระทรวงธรรมการได้เปลี่ยนหลักสูตรการศึกษา เป็นชั้นประถมชั้น และมัธยม ชั้น ชั้นมูลไม่มี ดังนั้นที่โรงเรียนวัดจันทนารามคงให้สอนเพียง ชั้น ป.1 - ป.ผู้ที่ประสงค์จะเรียนชั้นมัธยมต้องมาเรียนที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ซึ่งเป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑล (ชาย)
ครั้นวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2456 วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สวรรคตวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 24.45 น. หรืออาจนับเป็นวันที่ 23 ตุลาคม เวลา 0.45 น.) จึงได้จัดการทำพิธีเปิดโรงเรียนโดย ขุนวิภาชวิทยาสิทธ์ ธรรมการมณฑลจันทบุรี อ่านรายงานการก่อสร้างสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลจันทบุรี พระยาตรังคภูมาภิบาล (ถนอม บุณยเกตุ) ประธานในพิธีกล่าวคำประกาศเปิดนาม และประกอบพิธีเปิดนามโรงเรียน เมื่อจัดงานฉลองและบำเพ็ญกุศลแล้วจึงเริ่มการสอนแก่นักเรียนในนามโรงเรียน เบญจมราชูทิศตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2456 เป็นต้นมา โดยได้ใช้ชื่อโรงเรียนทางราชการตามลำดับจากอดีตถึงปัจจุบันดังนี้
·พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2461 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ มณฑลจันทบุรี
·พ.ศ. 2462 - พ.ศ. 2473 โรงเรียนประจำมณฑลจันทบุรี เบญจมราชูทิศ
·พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2494 โรงเรียนประจำจังหวัดจันทบุรี เบญจมราชูทิศ
·พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2503 โรงเรียนจันทบุรี เบญจมราชูทิศ
·พ.ศ. 2503 - ปัจจุบัน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

My Profile

EmojiEmoji  My Profile EmojiEmoji

EmojiEmojiEmojiEmojiEmojiEmojiEmojiEmojiEmojiEmojiEmojiEmojiEmojiEmojiEmojiEmojiEmojiEmoji



First name : Pacharawan
Last name : Limlikhitaksorn
Nickname : Tanguy (แทนกาย)
E-mail : Tanguys.pali@hotmail.com
Gmail : Tanguys.pali@gmail.com
Facebook : Tanguy Pacharawan Limlikhitaksorn